วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 6 วันพุธ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้

แปลสรุปข่าว 3คนต่อสัปดาห์

การทำงานกลุ่ม

1. สอบถามการตลาด,คู่แข่ง

2. ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะ,การเลือก,การสื่อสาร,หลักการสร้างแบรนด์

3.การออกแบบมาเพื่อสื่อสารทั้งข้้อมูลและภาพสามารถดูรายละเอียด

ได้ที่corporateidentitydesign.blogspot.com นำเสนองานใน issuu

การออกแบบโลโก้ที่ดี

1. เรียบง่ายไม่ซับซ้อน(simple)

2. memorable

3. Timeless ใช้ได้นาน แข็งแรง

4. versatile มีความหลากหลายใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

5. Appropriate

ขอขอบคุณ : อาจารย์ประชิด ทิณบุตร (ผู้สอน)

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 5 วันพุธ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้

แปลสรุปข่าว 3 คนต่อสัปดาห์

          การทำไฟล์จะถูกสร้างขึ้นด้วยเอกสาร Ai ซอฟแวร์ที่ทำงานเกี่ยวกับภาพประกอบ การคำนวณเกี่ยวกับภาพ เป็นโปรแกรมbitmap การแปลตัวอักษร การไล่สีแต่ละบิท ไบท์เกิดจากสวิสซ์onหรือoff บิทเปรียบเสมือนพิกเซลถ้าขยายภาพจะแตกหรืขอบหยัก ใช้ค่าsolutionsที่เป็นธรรมดาค่าจะอยู่ที่72พิกเซล vectorการกำหนดสายเส้น การให้ภาพเคลื่อนไหวแบบมัลติมีเดีย ซอฟแวร์ใช้ในการทำงานเขียนแบบ

ขอขอบคุณ : อาจารย์ประชิด ทิณบุตร (ผู้สอน)

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 4 วันพุธ ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้ 


รายงานข่าว 3 คน  ต่อสัปดาห์

อาจารย์ได้สอนพับกระดาษที่ได้ให้นำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปใส่สิ่งของต่างๆได้ เป็นการพับแบบง่ายๆ ขอบคุณอาจารย์ ที่ได้สอนสิ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง



ขอขอบคุณ : อาจารย์ประชิด ทิณบุตร (ผู้สอน)

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

วิสาหกิจชุมชน


วิสาหกิจชุมชน



ความหมาย

วิสาหกิจชุมชน (community enterprise) หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน

ความหมายของวิสาหกิจชุมชนโดยสรุป คือ การประกอบการเพื่อการจัดการ "ทุนของชุมชน" อย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง

"ทุนของชุมชน" ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่เป็นน้องไว้ใจกัน)

ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน (มีองค์ประกอบอย่างน้อย 7 ประการ)

1. ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชน เป็นหลัก
3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
4. เป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานภูมิปัญญาสากล
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ
7. มีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หมายถึง คณะบุคคลที่รวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน ของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ความเป็นมา

ในชุมชนมีการรวมตัวกันเพื่อประกอบธุรกิจในระดับรากหญ้าอยู่มากมาย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ยังมีขนาดไม่ถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) หรือสหกรณ์ แต่เป็นธุรกิจที่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ธุรกิจในระดับนี้ยังมีปัญหาที่ประสบอยู่ คือ
ไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนอื่น ๆ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ
การสนับสนุนจากภาครัฐไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง เนื่องจากข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และความต้องการไม่ชัดเจน รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการออกกฎหมายรองรับการประกอบการ
หลักการ

เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจำนวนหนึ่งอยู่ในระดับที่ไม่พร้อมจะเข้ามาแข่งขันทางการค้า ให้ได้รับการส่งเสริมความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างรายได้ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพัฒนาความสามารถในการจัดการ และพัฒนารูปแบบของวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการของหน่วยธุรกิจที่สูงขึ้น

การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

กฎหมายกำหนดให้มีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอย่างครบวงจร
1. ระดับปฐมภูมิ ส่งเสริมการจัดตั้ง การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย ในการนำทุนชุมชนมาใช้เหมาะสม การร่วมมือกันในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
2. ระดับสูงขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การรักษาคุณภาพ การศึกษาวิจัยเทคโนโลยีและการตลาด การสร้างความเชื่อถือทางธุรกิจ และความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค การประสานงานแหล่งเงินทุน เพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการหรือพัฒนาไปสู่การประกอบธุรกิจขนาดย่อม และขนาดกลาง ต่อไป
3. การส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน รัฐจะให้การสนับสนุนการจัดตั้งการประกอบการ การตลาด ความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย หรือภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่น เพื่อขยายและสร้างความมั่นคงให้แก่กิจการวิสาหกิจชุมชน

ประโยชน์ของวิสาหกิจชุมชนต่อเกษตรกร

1. การรวมตัวกันของเกษตรกรในการประกอบธุรกิจในระดับชุมชน มีความมั่นคง ได้รับการรับรองตามกฎหมาย
2. การส่งเสริมความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาความสามารถในการจัดการ ตรงตามความต้องการที่แท้จริง
3. ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มีความพร้อมที่จะพัฒนาสำหรับการแข่งขันทางการค้าในอนาคต

บทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตร

1. เป็นหน่วยงานนิติบุคคลตามพรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในการรับจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และการเลิกกิจการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย
2. เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเลขานุการ โดยมีผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร และผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน อย่างครบวงจร
4. ประสานงานในการให้การสนับสนุนแก่กิจการวิสาหกิจชุมชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนในการประกอบการ
5. จัดให้มีการฝึกอบรมหรือการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของวิสาหกิจชุมชน ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต การจัดการ การบัญชี ภาษีอากร และการตลาด

การเตรียมความพร้อมของกรมส่งเสริมการเกษตร

1. จัดเตรียมยกร่างหลักเกณฑ์ กฎระเบียบในการปฏิบัติงาน ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อประกาศเป็นข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน
2. เตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับต่าง ๆ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้รับทราบและเข้าใจบทบาทหน้าที่
3. เตรียมเนื้องานที่ประกอบด้วยโครงสร้างและเนื้อหาที่ชัดเจน ให้มีความพร้อมปฏิบัติงานได้ทันทีที่พระราชบัญญัติประกาศใช้


ที่มาคัดลอดจาก : http://smce.doae.go.th/smce1/index.php?result=5


วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 3 วันพุธ ที่ 3 กันยายน พ.ศ.2557


สรุปผลการเรียนรู้

รายวิชา ARTD 2307 Corporate Identity design การออกแบบอัตลักษณ์

ให้นักศึกษานำข่าวการออกแบบอัตลักษณ์ ครั้งละ 3 คน

1.เสนอการออกแบบแบรนด์มีเดียของ BLICKFANG MEDIA เป็นการออกแบบตัวอักษรและกราฟิกรวมอยู่ด้วย โดยมีการใช้สัญลักษณ์ของกล้องมาออกแบบ และการใช้ตัวอักษรแบบไม่มีฐานเพื่อผสมผสานให้เข้ากับแบรนด์
2.การออกแบบแบรนด์ cPRIMI

การจัดบลอคต้องเป็นชื่อของ product อธิบายการออกแบบ รูปลักษณ์ หรือแม้กระทั่งความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ตัวการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องมีการจัดเรียงไม่ว่าจะเป็นขนาด ตำแหน่ง การใช้งานของผลิตภัณฑ์ แนวทาง สไตล์ ความรู้สึก บอกจุดประสงค์ การจัดวางบทบาทพฤติกรรมหลักการออกแบบ
การนำไปใช้

การออกแบบอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชน

การหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รู้จักที่มาของข้าว เช่นพันธุ์ข้าว,สี ลักษณะของวัตถุดิษ การออกแบบโลโก้ ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ มีที่มา และมีการสเก็ตแบบร่าง ข้อมูลการจดทะเบียนสินค้า มูลค่าสินค้า และศึกษาตราสัญลักษณ์เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการออกแบบ


งานที่ได้รับมอบหมาย

เขียนแแบบใส่วู๊ดบอร์ด มีฉลาก ข้อมูลมีการจัดระเบียบและลำดับที่ถูกต้อง มีตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุง,ซอง,ใส่ขวด หรือภาชนะอื่นๆตามความเหมาะสมของสินค้า ที่สามารถใส่ข้าวได้ 1 กิโลกรัม

ขอขอบคุณ : อาจารย์ประชิด ทิณบุตร (ผู้สอน)

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้า


ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย

การตรวจค้น

1. แนะนำให้ผู้ยื่นดำเนินการตรวจค้นเครื่องหมายที่จะขอจดว่าเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมาย ของผู้อืนหรือไม่ 2. ผู้ค้นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจค้น 100 บาท/1 ชั่วโมง

การยื่นขอจดทะเบียน

1. ผู้ยื่นต้องเตรียมเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดและกรอกข้อความให้สมบูรณ์ ได้แก่ - คำขอจดทะเบียน (ก. 01) พร้อมสำเนา จำนวน 10 แผ่น - การ์ด (ก. 16) จำนวน 2 แผ่น - หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามีการมอบอำนาจ) ติดอากร 30 บาท ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน - สำเนาบัตรประจำตัว (ถ้าผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา) - ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน6 เดือน นับจนถึงวันยื่นคำขอ (ถ้าผู้ขอเป็นนิติบุคคล) - ถ้าผู้ขออยู่ต่างประเทศให้โนตารี พับลิครับรองเอกสารด้วย - รูปเครื่องหมายจำนวน 10 รูป 2. ยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท ต่อสินค้า/บริการ 1 อย่าง

การตรวจสอบ

1. ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary check) คือตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น (Documentary check) 2. ต่อมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและนายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ - ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ - ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและ - ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่นในชั้นนี้จะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 3 เดือน ต่อ 1 คำขอ 3. ภายหลังตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี - การรับจดทะเบียน - ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน - ให้แก้ไขคำขอ - แจ้งผู้ยื่นคำขอว่า เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน มีผู้อื่นยื่นขอจดทะเบียนไว้เช่นกัน ขอให้ผู้ยื่น ไปตกลงกันเองก่อน

การแจ้งให้แก้ไขคำขอ

ผู้ขอจดทะเบียนต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ผิด ระบุข้อความไม่ครบถ้วน ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ฯลฯ โดยคิดค่าธรรมเนียมคำขอละ 200 บาท

การแจ้งให้ตกลงกันก่อน

1. ถ้าผู้ยื่นคำขอตกลงกันได้ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าใครได้สิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นไป เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 2. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถตกลงกันได้คำขอจดทะเบียนที่ยื่นก่อนจะได้รับการจดทะเบียน ตามหลัก ใครยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า (first-to-file)

การแจ้งไม่ปฏิเสธคำขอ

1. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 2. บางกรณีเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอสละสิทธิในคำขอบางส่วนเนื่องจากบางส่วนของ เครื่องหมายเป็นสิ่งที่ใช้กับสามัญในการค้าขายหรือไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ - ถ้าผู้ยื่นคำขอยอมสละสิทธิ ผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งนายทะเบียนทราบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับนายทะเบียน ผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง โดยชำระค่าธรรมเนียมการอุทธรณ์คำขอฉบับละ 2,000 บาท

การแจ้งปฏิเสธ

1. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่อุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนก็จะจำหน่ายคำขอนั้น ออกจากสารบบ 2. ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการยื่นคำอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่รับหนังสือแจ้งคำสั่ง โดยชำระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ 2,000 บาท 3. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งคำวินิจฉัยให้นายทะเบียน ทราบดังนี้ - ถ้าวินิจฉัยเห็นควรให้จดทะเบียน นายทะเบียนจะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป - ถ้าวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน นายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอจดทะเบียนออกนอกสารบบและคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าถือเป็นที่สุด

การประกาศโฆษณา

1. ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียน นายทะเบียนมีคำสั่งประกาศโฆษณาคำขอ จดทะเบียนและมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนมาชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณาคำขอละ 200บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง - ถ้าไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันถือว่าละทิ้งคำขอ - เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนและจะรอ การประกาศเอาไว้ 90 วัน - ถ้าไม่มีการคัดค้านการจดทะเบียนเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายนั้น ต่อไป - ถ้ามีการคัดค้านการจดทะเบียน โดยเหตุหนึ่ง เหตุใดเช่น เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะ ที่จดทะเบียนได้, เครื่องหมายการค้าไม่ได้เป็นของผู้จดทะเบียน หรือการจดทะเบียน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่พร้อมแสดงหลักฐาน และเหตุผล และชำระค่าธรรมเนียมค่าคำคัดค้าน 1,000 บาท 2. เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบว่ามีบุคคล คัดค้านการจดทะเบียนคำขอนั้น - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านนายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอออกจากสารบบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านให้ยื่นคำโต้แย้งต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาการคัดค้าน 3. นายทะเบียนจะพิจารณาในประเด็นที่คัดค้านนั้น เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งไปให้คู่กรณีทราบ 4. คู่กรณีที่เสียประโยชน์อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนได้โดนยื่นคำอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียน โดยชำระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ2,000 บาท 5. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วนายทะเบียนจะแจ้งผลการวินิจฉัยของ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้แก่คู่กรณีทราบ 6. ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่เสียประโยชน์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ผู้นั้นอาจนำคดีขึ้นฟ้องศาลได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

การจดทะเบียน

1. เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบจากนายทะเบียนและได้ประกาศโฆษณาแล้ว และผ่านกระบวนการคัดค้านและอุทธรณ์ จนถึงที่สุด เป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะแจ้งไปยังผู้ยื่นคำขอทราบให้ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเจ้ง 2. เมื่อผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียม ผู้ยื่นคำขอจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน โดยชำระค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการอย่างละ 300 บาท